การทำบทความอย่างต่อเนื่อง
สำหรับคนที่เชื่อว่าการลงบทความจำนวนมากๆ ในแต่ละวันแล้วจะส่งผลดีต่ออันดับ SEO นั้นเป็นเรื่องที่ทั้งจริงและไม่จริง เพราะการลงบทความก็ขึ้นอยู่กับเว็บไซต์ด้วยว่าสามารถรองรับได้มากหรือน้อยแค่ไหน หากเว็บไซต์เป็นการให้บริการหรือขายสินค้าที่สามารถเขียนเนื้อหาออกมาได้หลายมุม ก็สามารถอัปโหลดได้ในปริมาณที่มากกว่า
นอกจากนี้การเผยแพร่บทความอาจขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมงานหลังบ้านอีกด้วย เพราะตอนนี้ยังไม่พบว่ามีข้อมูลไหนหรือกูเกิลออกมาบอกว่าต้องลงบทความปริมาณเท่าไหนต่อวันถึงจะมีผลต่อ SEO แต่ที่มั่นใจได้อย่างหนึ่งคือการลงบทความจะต้องมีปริมาณที่สม่ำเสมอไม่มีการเว้นช่วงที่นานเกินไป อย่างไรก็ตามการลงบทความอย่างต่อเนื่องก็ไม่ได้หมายความจะดีเสมอไป เพราะบทความที่มีแต่น้ำและเน้นปริมาณหรือที่เรียกกันว่า “บทความสแปม”จะส่งผลเสียต่อ SEO
ความเร็วของ Web Server
มือใหม่ที่พึ่งเริ่มต้นทำ SEO หลายคนมักมีความคิดว่า จะเช่าโฮสต์ที่ไหนก็เหมือนกัน ดังนั้นเลยขอเน้นที่ราคาถูกๆ ไว้ก่อน ต้องบอกว่าใครที่มีความคิดแบบนี้แล้วผลลัพธ์ของการทำ SEO จะวนเวียนไปมาอยู่อันดับท้าย ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า กูเกิลชอบเว็บไซต์ที่สามารถเปิดได้ไว ยิ่งเร็วแค่ไหนยิ่งดีเท่านั้น พอเป็นอย่างนี้ก็ไม่แปลกที่กูเกิลจะให้ความสำคัญกับความเร็วของเว็บไซต์ในการนำไปประเมินและจัดอันดับเว็บไซต์โฮสต์ติ้งนั้นมีผลโดยตรงต่อความเร็วของเว็บไซต์ หากมี โฮสต์ติ้งที่ดีอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง มี Network ที่สูง ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้ไวขึ้น
Search Console
Google Search Console เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำ SEO เพราะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ SEO Specialist ทั้งมือใหม่และมือเก่าสามารถเข้าใจข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นคีย์เวิร์ดที่ติดอันดับต่างๆ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ของกูเกิลที่ต้องนำไปทำตามหากต้องเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์
Image Size
สำหรับขนาดของรูปภาพนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเร็วของเว็บไซต์ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่ออันดับ SEO แม้ว่าจะเลือกเว็บโฮสต์ติ้งที่ให้บริการความเร็วเว็บไซต์ได้ดีมากแค่ไหน แต่หากเว็บไซต์มีรูปภาพขนาดใหญ่จนเกินไปก็จะทำให้ความเร็วของเว็บไซต์ช้าอยู่อย่างนั้น ขนาดของรูปภาพบนเว็บไซต์เป็นอะไรที่สามารถควบคุมได้ง่ายที่สุด แต่ก็เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่มือใหม่หลายคนชอบที่จะเพิกเฉยไม่สนใจ วิธีแก้ปัญหาหากพบว่าเว็บไซต์มีรูปภาพขนาดใหญ่เกินจำเป็นมากเกินไป นั่นคือการลองเปลี่ยนสกุลไฟล์ที่ใช้ให้เล็กลง หรือไม่ก็ลองบีบอัดรูปภาพให้เล็กลงด้วยเครื่องมือต่าง ๆ
หน้าเว็บไซต์ที่ Indexing
หากพบว่ากูเกิลไม่ได้จัดทำ Indexing ในหน้าเว็บไซต์ แสดงว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับเว็บไซต์ สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้นสามารถใช้ Google Search Console ในการตรวจดู Report ต่าง ๆ เกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์ที่ไม่ถูกกูเกิลจัดทำ Indexing และเมื่อพบปัญหาแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องเริ่มปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้น โดยส่วนมากปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดจาก…
- เนื้อหาบทความในหน้าเว็บไซต์ซ้ำซ้อนกับหน้าที่เคยเผยแพร่แล้ว
- เนื้อหามีจำนวนน้อยเกินไป
- เนื้อหาไม่มีคุณภาพ
- องค์ประกอบโดยรวมของเว็บไซต์ไม่ดีพอ